วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

Keyword



                                                                 settlement 


(จากภาพการตั้งถิ่นฐานในกรุงโรม ยุคก่อนประวัติศาสตร์)
                                                                 

                     
จากภาพ คำว่า settlement นั้นจะหมายถึง การบุกเบิกครอบครองพื้นที่ ส่วนใดส่วนนึงบนโลกที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยมาก่อน รูปแบบเเละขนาดของถิ่นฐานมีความซับซ้อนสัมพันธ์เเละเเตกต่างกันออกไป


การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ความหมายเเละขอบเขต

-มนุษย์มีฐานะเป็นบุคคล
-สังคมคือระบบปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์
-โครงสร้างคือสิ่งก่อสร้างทุกรูปแบบ เเละ โครงข่ายคือระบบหนทางเเละการคมนาคมติดต่อ
-ในขอบเขตที่เเคบลงมา เเหล่งการตั้งถิ่นฐานเป็นเเหล่งที่ประชากรอาศัยอยู่รวมกันในการดำเนินชีวิต
-เมืองขนาดใหญ่ขึ้น จะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
-เเหล่งตั้งถิ่นฐานเเต่ละเเหล่งเสมือนระบบหนึ่งๆ จะค่อยๆใหญ่โต เเละจะซับซ้อนยิ่งขึ้นตามกาลเวลา

จะดำรงอยู่ได้เมื่อ
1.ตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2.รักษาสมดุลกับสิ่งเเวดล้อมเเละทรัพยากร
3.มีความเสมอภาคทางสังคม
4.มนุษย์สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีเเห่งการเป็นมนุษย์ 


ตัวอย่าง ภาพการตั้งถิ่นฐาน

ตัวอย่าง ภาพการตั้งถิ่นฐาน



                                      Settlement hierarchy


Settlement hierarchy คือ ลำดับชั้นของการตั้งถิ่นฐาน เป็นวิธีการจัดลำดับชั้นของการตั้งถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในพื้นที่บนพื้นฐานของประชากรหรือเงื่อนไขหรือกฏเกณฑ์ต่างๆ 


Urbanization 

ภาพจาก http://www.gmlive.com/

Urbanization การกลายเป็นเมือง คือ การเปลี่ยนแปลงของประชากรจากเขตชนบทสู่เขตเมือง


จากภาพ : เเผนที่เเสดงการกลายเป็นเมืองของทั่วโลก คิดเป็นร้อยละของการกลายเป็นเมืองในแต่ละประเทศ ในปี 2012    (จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Urbanization
)
               

           จากปรากฎการทางสังคมในปัจจุบันจะพบว่า ความเจริญก้าวหน้าของชุมชนเมืองทำให้เกิดการอพยพของประชากรในเขตชนบทเข้ามาในเขตเมืองมากขึ้น เมื่อในเขตเมืองมีความหนาแน่นมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ความเสื่อมโทรมในตัวเมืองมีมากขึ้น การขยายตัวของเมืองก็จะเกิดขึ้นตามมา ทำให้มีการกระจายตัวของประชากรเมือง (Decentralization) เข้าครอบครอง (Dominate) พื้นที่ใหม่ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ เมือง พื้นที่ที่รองรับการขยายตัวของเมืองก็คือ ชานเมือง (Suburb)
               ก่อนที่ชานเมืองจะกลายมาเป็นเมือง (Urbanization) พื้นที่ของชานเมืองจะมีลักษณะเป็นที่โล่งว่างและมีประชากรอาศัยอยู่อย่างเบาบาง การที่ชานเมืองเป็นบริเวณมีสามารถรองรับการกระจายตัวของเมืองได้เป็นอย่างดีนั้น มีปัจจัยสนับสนุนดังนี้ (ไพบูลย์ ช่างเรียน 2516 : 250-251)
     1.ปัจจัยด้านการคมนาคม (Mass communication) การสร้างเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างชานเมืองกับตัวเมือง ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการเคลื่อนไหว เมื่อมีการเคลื่อนไหวได้รวดเร็วและได้มากณ ที่นั้นก็จะมีความเจริญเกิดขึ้น ผู้คนอพยพไปอยู่มากขึ้น
    2.ปัจจัยด้านที่อยู่อาศัย การออกไปจัดทำที่ดินหรือที่อยู่อาศัยบริเวณชานเมืองนั้น ทำให้สามารถมีบริเวณบ้านกว้างขวาง ราคาพอสมควรพอที่จะทำให้ผู้มีรายได้ปานกลางหาซื้อได้
    3.ปัจจัยด้านที่ตั้ง (Location) การสร้างสถานที่ราชการของรัฐบาล มีส่วนช่วยให้เกิดชุมชนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะประชาชนเห็นว่าเมือมีสถานที่ราชการของรัฐบาลเกิดขึ้นแล้ว การบริการสาธารณต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ถนนหนทางและความปลอดภัยก็จะติดตามมาด้วยรวมทั้งสืบเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้มีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นในเขตชานเมือง เมื่อเกิดย่านอุตสาหกรรมขึ้นแล้ว ก็จำเป็นจะต้องมีคนงาน จึงทำให้เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยบริเวณเขตอุตสาหกรรมเพื่อความสะดวกในการทำงาน
    4.ปัจจัยด้านการลงทุนของนักจัดสรรที่ดิน เมื่อบริเวณรอบ ๆ เมืองมีระบบคมนาคมที่สะดวกรวดเร็วในการเคลื่อนไหว ทำให้มีนักเก็งกำไรในการจัดสรรที่ดินเกิดขึ้น โดยทำการจัดสรรที่ดินและจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ถนน เพื่อเป็นการจูงใจความต้องการของประชาชนที่อยู่อาศัย
    5.ปัจจัยด้านบทบาทของการเดินทางไปกลับ (Commuter) โดยอาศัยผลจากความสะดวกรวดเร็วของการคมนาคมเข้ามาทำงานและอาศัยบริการต่าง ๆ ในตัวเมืองกลับออกไปในตอนเย็นซึ่งก่อให้เกิดการอพยพของประชากรที่อยู่อาศัยในเมืองออกไปอยู่ในเขตชานเมืองมากขึ้น
                                                                                                                                                                   (http://www.dpt.go.th/ITCitdb/txt/pop/urban3.htm)



 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น