วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

อาเซียน +3

อาเซียน+3 คืออะไร มีประเทศอะไรบ้าง

อาเซียน+3 คืออะไร
อาเซียน+3 (ASEAN+3) คือ กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กับประเทศอื่นนอกกลุ่มอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) ในอนาคต


เป้าหมายของการจัดตั้งอาเซียน+3
การจัดตั้งกลุ่มอาเซียน+3 นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่อีก 3 ประเทศ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) และมีข้อตกลงกันเพื่อความร่วมมือในด้านต่างๆ 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการเมืองและความมั่นคง
2. ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน
3. ด้านพลังงาน
4. สิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก
5. ด้านสังคมและวัฒนธรรม


วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประเทศกับหนี้ !!

10 อันดับ ประเทศที่ "เป็นหนี้ต่างชาติมากที่สุดในโลก"




หากประเทศส่วนใหญ่ในโลกนี้ก็ล้วนแล้วแต่มีหนี้ต่างชาติด้วยกันทั้งสิ้น ต้องขอขอบคุณทาง"CIA World Factbook" ที่ได้รวบรวมสถิตการเป็นหนี้ต่างชาติ* ของแต่ละประเทศ โดยคำนวณจากหนี้สินที่ประเทศนั้นๆ กู้ยืมมาจากต่างประเทศ (ของทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน) ซึ่งต้องชำระคืนเป็นเงินสกุลต่างชาติ สินค้า หรือบริการ 

ประเทศที่มี "หนี้ต่างชาติ" สูงที่สุดในโลก 10 อันดับแรก ได้แก่...


อันดับที่ 10 ประเทศลักเซมเบิร์ก 
มีหนี้สินต่างชาติ ทั้งสิ้น $2,020,000,000,000 (ราว 66.96 ล้านล้านบาท) 



อันดับที่ 9 ประเทศญี่ปุ่น
มีหนี้สินต่างชาติ ทั้งสิ้น $2,231,000,000,000 (ราว 74 ล้านล้านบาท)


อันดับที่ 8 ประเทศสเปน
มีหนี้สินต่างชาติ ทั้งสิ้น $2,317,000,000,000 (ราว 76.8 ล้านล้านบาท)


อันดับที่ 7 ประเทศอิตาลี
มีหนี้สินต่างชาติ ทั้งสิ้น $2,328,000,000,000 (ราว 77 ล้านล้านบาท)



อันดับที่ 6 ประเทศไอร์แลนด์
มีหนี้สินต่างชาติ ทั้งสิ้น $2,356,000,000,000 (ราว 78.1 ล้านล้านบาท)


อันดับที่ 5 ประเทศเนเธอร์แลนด์
มีหนี้สินต่างชาติ ทั้งสิ้น $2,461,000,000,000 (ราว 82 ล้านล้านบาท)



อันดับที่ 4 ประเทศฝรั่งเศส
มีหนี้สินต่างชาติ ทั้งสิ้น $4,935,000,000,000 (ราว 164 ล้านล้านบาท)


อันดับที่ 3 ประเทศเยอรมนี
มีหนี้สินต่างชาติ ทั้งสิ้น $5,158,000,000,000 (ราว 171 ล้านล้านบาท)



อันดับที่ 2 ประเทศอังกฤษ
มีหนี้สินต่างชาติ ทั้งสิ้น $9,041,000,000,000 (ราว 300 ล้านล้านบาท)



อันดับที่ 1 ประเทศสหรัฐอเมริกา
มีหนี้สินต่างชาติ ทั้งสิ้น $13,750,000,000,000 (ราว 456 ล้านล้านบาท)









ที่มา https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/rankorder/2079rank.html
สถิติจากปี 2555 **





วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Diaster

ภัยพิบัติ (Disaster)


ภาพจาก http://www.nanotec.or.th/th/?p=400

   ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นแก่สาธารณชน ได้ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย สึนามิ ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันเป็นสาธารณะ ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือมีผู้กระทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ (พ.ร.บ. ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน พ. ศ. 2522) ซึ่งภัยธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของภัยพิบัติ
ภัยธรรมชาติ (Natural Disaster) หมายถึง ภัยอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และมีผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์ (environnet , กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม) สามารถแบ่งภัยธรรมชาติออกได้เป็น 4 ด้าน ดังนี้







1.ภัยธรรมชาติด้านน้ำ
1.1 อุทกภัย (Flood) หมาย ถึง อันตรายจากน้ำท่วม อันเกิดจากระดับน้ำในทะเล มหาสมุทร หรือแม่น้ำสูงมาก จนท่วมท้นล้นฝั่งและตลิ่ง ไหลท่วมบ้านเรือน ด้วยความรุนแรงของกระแสน้ำ ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รูปแบบของอุทกภัยจากธรรมชาติ (types of natural flood) 

1.2 ภัยแล้ง (Droughts) หมายถึงสภาวะที่มีฝนน้อยหรือไม่มีฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติจะต้องมีฝนโดยขึ้นอยู่กับสถานที่และฤดูกาล ณ ที่นั้นๆ หรือสภาวะที่ระดับน้ำ และใต้ดินลดลง หรือน้ำในแม่น้ำลำคลองลดน้อยลง ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนน้ำของพืช ณ ช่วงเวลาต่างๆ 




2.ภัยธรรมชาติด้านลม
วาตภัย (Storms) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง สำหรับในประเทศไทยวาตภัยหรือพายุลมแรงมีสาเหตุมาจากปรากฎการณ์ทางธรรรมชาติ (กรมอุตุนิยมวิทยา) คือ


1)พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone) ได้แก่ ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น
2)พายุฤดูร้อน ส่วนมากจะเกิดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยจะเกิดถี่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนภาคกลางและภาคตะวันออก จะมีการเกิดน้อยครั้งกว่า สำหรับภาคใต้ก็สามารถเกิดได้แต่ไม่บ่อยนัก โดยพายุฤดูร้อนจะเกิดในช่วงที่มีลักษณะอากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกันหลายวัน แล้วมีกระแสอากาศเย็นจากความกดอากาศสูงในประเทศจีนพัดมาปะทะกัน ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองมีพายุลมแรง และอาจมีลูกเห็บตกได้จะทำความเสียหายในบริเวณที่ไม่กว้างนัก ประมาณ 20-30 ตารางกิโลเมตร
3) ลมงวง (เทอร์นาโด) เป็นพายุหมุนรุนแรงขนาดเล็กที่เกิดจากการหมุนเวียน ของลมภายใต้เมฆก่อตัวในทางตั้ง หรือเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (เมฆคิวมูโลนิมบัส) ที่มีฐานเมฆต่ำ กระแสลมวนที่มีความเร็วลมสูงนี้จะ ทำให้กระแสอากาศเป็นลำพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆดูคล้ายกับงวงหรือปล่องยื่นลงมา ถ้าถึงพื้นดินก็จะทำความเสียหายแก่บ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างได้ สำหรับในประเทศไทยมักจะเกิดกระแสลมวน ใกล้พื้นดินเป็นส่วนใหญ่ไม่ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงใต้พื้นฐานเมฆ และจะเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง โดยจะเกิดขึ้นในพื้นที่แคบ ๆ และมีช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จึงทำให้เกิดความเสียหายได้ในบางพื้นที่




3. ภัยธรรมชาติด้านไฟ
ไฟป่า (Wildfire) หมายถึง ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากมนุษย์เป็นส่วนมาก ได้แก่ การเผาหาของป่า เผาทำไร่เลื่อนลอย เผากำจัดวัชพืช ส่วนน้อยที่เกิดจากการเสียดสีของต้นไม้แห้ง ผลกระทบจากไฟป่าทำให้เกิดมลพิษในอากาศมากขึ้น ผงฝุ่น ควันไฟกระจายในอากาศทั่วไป ไม่สามารถลอยขึ้นเบื้องบนได้ มองเห็นไม่ชัดเจน สุขภาพเสื่อม พืชผลการเกษตรด้อยคุณภาพ แหล่งทรัพยากรลดลง (environnet , กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม)



4. ภัยธรรมชาติด้านดิน
4.1 ภูเขาไฟระเบิด (Volcano) เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง การระเบิดของภูเขาไฟนั้นแสดงให้เห็นว่าใต้ผิวโลกของเราลงไประดับหนึ่งมีความ ร้อนสะสมอยู่มากโดยเฉพาะที่เรียกว่า”จุดร้อน” ณ บริเวณนี้มีหินหลอมละลายเรียกว่า แมกมา และเมื่อมันถูกพ่นขึ้นมาตามรอยแตกหรือปล่องภูเขาไฟเราเรียกว่าลาวาสาเหตุของ การเกิดภูเขาไฟระเบิด 
4.2 แผ่นดินไหว (Earthquakes) หมายถึง การสั่นสะเทือนของพื้นดินอันเกิดขึ้นได้ทั้งจากการกระทำของธรรมชาติและ มนุษย์ ส่วนที่เกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกโดยฉับพลัน ตามแนวขอบของแผ่นเปลือกโลก หรือตามแนวรอยเลื่อน การระเบิดของภูเขาไฟ การยุบตัวของโพรงใต้ดิน แผ่นดินถล่ม อุกาบาตขนาดใหญ่ตก เป็นต้น 
4.3 แผ่นดินถล่ม (land slides) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของการสึกกร่อนชนิดหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริเวณพื้นที่ที่เป็นเนินสูงหรือภูเขาที่มีความ ลาดชันมาก เนื่องจากขาดความสมดุลในการทรงตัวบริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดการปรับตัวของพื้นดินต่อแรงดึงดูดของโลกและเกิดการเคลื่อนตัวของ องค์ประกอบธรณีวิทยาบริเวณนั้นจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ แผ่นดินถล่มมักเกิดในกรณีที่มีฝนตกหนักมากบริเวณภูเขาและภูเขานั้นอุ้มน้ำ ไว้จนเกิดการอิ่มตัว จนทำให้เกิดการพังทลาย


ที่มา : http://www.arsadusit.com/1683
http://www.nanotec.or.th/th/?p=400



วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

รู้ไว้ใช่ว่า.

ASEAN 


ประชากรอาเซียน มีจำนวนทั้งสิ้น 636,512,723 ล้านคน (ข้อมูล ณ สิ้นปี พ.ศ. 2557) หรือประมาณ 8.85% ของประชากรโลก โดยประเทศอินโดนีเซียมีจำนวนประชากรสูงสุด จำนวน 253,609,643 คน และประเทศบรูไนมีประชากรน้อยที่สุด โดยมีประชากรเพียง 400,000 คนเศษ


ประชากรอาเซียนเรียงตามประเทศที่มีประชากรมากที่สุดจนถึงน้อยที่สุด ดังนี้
อันดับ 1 : ประเทศอินโดนีเซีย
จำนวนประชากร : 253,609,643 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
อันดับ 2 : ประเทศฟิลิปปินส์
จำนวนประชากร : 107,668,231 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์
อันดับ 3 : ประเทศเวียดนาม
จำนวนประชากร : 93,421,835 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
อันดับ 4 : ประเทศไทย
จำนวนประชากร : 67,741,401 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
อันดับ 5 : ประเทศพม่า
จำนวนประชากร : 55,746,253 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
อันดับ 6 : ประเทศมาเลเซีย
จำนวนประชากร : 30,073,353 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
อันดับ 7 : ประเทศกัมพูชา
จำนวนประชากร : 15,458,332 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
อันดับ 8 : ประเทศลาว
จำนวนประชากร : 6,803,699 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
อันดับ 9 : ประเทศสิงคโปร์
จำนวนประชากร : 5,567,301 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
อันดับ 10 : ประเทศบรูไน
จำนวนประชากร : 422,675 คน
ศาสนา : ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

ที่มา : http://www.uasean.com/dogtech/310   
http://hilight.kapook.com/view/77001
http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

'เนปาล' หลังเผชิญแผ่นดินไหว-อาฟเตอร์ช็อก


ด็กหญิงเนปาลเก็บข้าวของออกจากบ้านที่ได้รับความเสียหายของเธอ ที่เมืองภักตปุระ ใกล้กรุงกาฐมาณฑุ

ประเทศเนปาลต้องเผชิญกับแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.8 แมกนิจูด เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา 25 เมษายน 2557  ทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนักในหลายพื้นที่ ทั้งในเนปาลและประเทศข้างเคียง มีผู้เสียชีวิตแล้วไม่น้อยกว่า 2,300 คน…
เมื่อเช้าวันอาทิตย์เกิดอาฟเตอร์ช็อกความรุนแรง 6.7 แมกนิจูด ใกล้กับยอดเขาเอเวอเรสต์ มากกว่าแผ่นดินไหวเมื่อวันเสาร์ ซ้ำเติมความเสียหายในประเทศเนปาล ซึ่งสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (โอซีเอชเอ) ระบุว่า มีประชาชน 4.6 ล้านใน 30 จากทั้งหมด 75 เขตในเนปาล ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวรุนแรงครั้งนี้
หน่วยกู้ภัยของทั้งเนปาล และนานาชาติ ยังคงดำเนินปฏิบัติการช่วยเหลือ และกู้ภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาผู้รอดชีวิต ที่อาจติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังของอาคาร ขณะที่แผ่นดินไหวทำให้เกิดหิมะถล่มบนยอดเขาเอเวอเรสต์ พื้นที่เบสแคมป์เสียหายอย่างหนัก มีผู้เสียชีวิต 17 ราย ซึ่งหน่วยกู้ภัยกำลังทยอยอพยพนักปีนเขาและไกด์ลงจากเขา

สามเณรในเมืองพุทธคยา ประเทศอินเดีย จุดเทียนสวดมนต์ อุทิศส่วนกุศลให้เหยื่อแผ่นดินไหวเนปาล

อาคารเก่าแก่ที่จัตุรัส กาฐมาณฑุ ดูร์บาร์ ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว

ถนนหลายสายได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว

ชาวอินเดียเข้าคิวรอเดินทางออกนอกจากเนปาล ที่ท่าอากาศยานนานาชาติ ตรีภูวัน ในกรุงกาฐมาณฑุ

สมาชิกหน่วยกู้ภัยในเยอรมนี ขึ้นเครื่องบินที่สนามบินแฟรงก์เฟิร์ต เพื่อเดินทางไปเนปาล

นักปีนเขาและไกด์ชาวเนปาลเผ่าเศรปา กำลังขึ้นเฮลิคอปเตอร์ เพื่ออพยพจากยอดเขาเอเวอเรสต์
ที่มาภาพเเละเนื้อข่าว : http://www.thairath.co.th/content/495365

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

ซื้อบ้านไว้ลงทุนคุ้มค่าจริงหรือ

การลงทุนคือความเสี่ยง  ยิ่งการลงทุนกับอสังหาฯ ซึ่งมีราคาสูงก็นับว่ามีความเสี่ยงมาก  ลองมาเปรียบเทียบเหตุผลกันดูสักนิด  ก่อนคิดลงทุน



การซื้อบ้านนอกจากการใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้วยังถือ เป็นการลงทุนอีกประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ภาวะดอกเบี้ยเงินฝากตกกราวรวดอย่างเช่นใน ปัจจุบัน มักจะเห็นคนถอนเงินจากธนาคารไปลงทุนด้วยวิธีการอื่นๆ แทน อาทิ การลงทุนในพันธบัตร การลงทุนในตลาดทุนหรือการลงทุนในหุ้น การลงทุนในตราสารหนี้ การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ การซื้อทอง รวมถึงการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

สาเหตุที่การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความน่าสนใจ เพราะปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กำลังเริ่มฟื้นตัวอยู่ในช่วงขาขึ้น แนวโน้มของราคาสินทรัพย์มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราผลตอบแทนในการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 10-20% (จากการให้เช่าโดยที่ยังไม่รวมกำไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่อาจเกิดใน อนาคต) ในขณะที่มีปัจจัยเอื้อให้การซื้ออสังหาริมทรัพย์มีราคาที่ต่ำลง ได้แก่

การซื้ออสังหาริมทรัพย์จึงเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการลงทุนในยุคปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารอยู่ที่ประมาณ 2% หากถอนเงินจากธนาคารมาลงทุนซื้อบ้านไว้สักหนึ่งหลังเพื่อปล่อยให้เช่าใน อัตรา 1% ของราคาบ้านที่ซื้อ เช่น ซื้อบ้านมา 500,000 บาท ปล่อยเช่าในอัตรา 1%ของราคาซื้อเท่ากับ 5,000 บาทต่อเดือน ในเวลา 1 ปี จะได้ผลตอบแทนคิดเป็น 12% ของราคาซื้อบ้านที่ลงทุนไป ซึ่งคุ้มค่าการการฝากเงินถึง 10%

ผู้คนจำนวนหนึ่งที่มองการซื้อบ้านเป็น "การลงทุน" ประเภทหนึ่ง รวมไปถึงการเก็งกำไร ถ้าเป็นกรณีนี้ก็จะต้องพิจารณากันมากเป็นพิเศษ ต้องกะเก็งกันว่า แถวไหนให้ผลตอบแทนดี และต่อไปราคาจะขึ้นมากมั้ย เป็นประเด็นสำคัญในการลงทุน กล่าวคือ ในการลงทุนบ้านหรือในอสังหาริมทรัพย์จะต้องพิจารณาผลตอบแทน 2 ส่วน

1. ผลตอบแทนในช่วงที่เราถือครอง

พิจารณาจาก "ค่าเช่าสุทธิ" ที่ได้รับต่อปี ซึ่งไม่ควรต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารหรือดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล ไม่งั้นก็ไปฝากเงินแบงก์หรือซื้อพันธบัตรรัฐบาลดีกว่า อันนี้ฝรั่งมันเรียกว่า Return on Investment 
2. ผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาอสังหาริมทรัพย์เมื่อขายเทียบกับราคาซื้อมา
เรียกว่า Return of Investment  ยกตัวอย่างหากซื้อบ้านมาในราคา 1,000,000 บาท และในอีก 5 ปีข้างหน้า ขายต่อได้ 1,500,000 บาท ก็จะทำกำไรได้อีก เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ต้องคาดการณ์อนาคต ถึงแนวโน้มของราคาอสังหาริมทรัพย์หรือวัฎจักรอสังหาริมทรัพย์ (Property Cycle) ว่าบ้านประเภทใด ระดับราคาใด ทำเลใด จะมีแนวโน้มดี แถวไหนจะรุ่ง แถวไหนจะริ่ง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ราคาขึ้นได้มากน้อย
หลักการง่ายๆ ของการลงทุน หรือการเก็งกำไรก็คือ ต้องซื้อให้ถูก และขายแพง ซึ่งทุกคนทราบดี แต่เมื่อไรจะราคาถูก (และควรซื้อไว้) เมื่อไรราคาแพง (และควรขายทำกำไร) เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องศึกษาภาวะตลาดและคาดการณ์ถึงแนวโน้มในอนาคตว่าจะรุ่ง หรือริ่ง (เสียดายที่วันนี้คงไม่ได้มีโอกาสพูดถึง Property Cycle) ไม่ใช่ไปซื้อในขณะที่ราคาแพงแล้วเอาไว้ขายตอนราคาถูก (อันนี้เรียกว่า “แมงเม่า”)


                                 ที่มา : http://www.thaihomeonline.com/article/guide/752/
                                 แหล่งข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558

Population

In 2050 ?


                   
     เมื่อพิจารณาข้อมูลจากเอกสาร World Urbanization Prospects ประจำปี 2014 ที่จัดทำขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ ได้ระบุไว้ว่า ปัจจุบันประชากรโลกอาศัยอยู่ในเขตเมืองมากกว่าเขตชนบท โดยในปี 2007 คือปีแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชาชนคนเมืองมีจำนวนมากกว่าประชากรชนบท โดยตลอดระยะเวลากว่า 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้เกิดการพัฒนาเข้าสู่ความเป็นเมืองอย่างรวดเร็วและยังคงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ในปี 2050 มีการคาดการณ์ไว้ว่า จำนวนประชากรที่อาศัยในเมืองจะมีมากขึ้นถึงร้อยละ 66 ของประชากรโลกทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบัน คือ ร้อยละ 54

ทั้งนี้ ระดับความเป็นเมืองของพื้นที่ต่างๆ ในโลกยังคงมีความแตกต่างกันอย่างมาก เพราะเมื่อพิจารณาสัดส่วนของความเป็นเมืองระหว่างยุโรป เอเชีย และแอฟริกา จะพบว่า ในปัจจุบัน ยุโรปมีประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองกว่าร้อยละ 73 ซึ่งแตกต่างจากเอเชียและแอฟริกาที่ประชาชนอาศัยอยู่ในเขตเมืองคิดเป็นร้อยละ 48 และร้อยละ 40 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงอัตราการพัฒนาเพื่อเข้าสู่ความเป็นเมืองจะพบว่าภูมิภาคเอเชียและแอฟริกามีแนวโน้มเติบโตในอัตราสูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นในปี 2050 คือ ร้อยละ 64 และร้อยละ 56 ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากยุโรปที่มีอัตราความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นเพียงประมาณร้อยละ 7 เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีระดับความเป็นเมืองที่สูงอยู่แล้ว

เมื่อพิจารณาในเชิงภาพรวมของโลกในปี 2050 ประเทศที่มีรายได้สูง (High Income Country) จะมีระดับความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 คือ จากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 86 ซึ่งต่างจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับบน (Upper- Middle Income Country) เช่น จีน บราซิล อิหร่าน และเม็กซิโก เป็นต้น ที่จะมีอัตราความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16 คือจากร้อยละ 63 ในปัจจุบัน เป็นร้อยละ 79 ในปี 2050

ทั้งนี้ สำหรับประเทศที่มีรายได้น้อย (Low Income Country) และปานกลางระดับล่าง (Lower Middle Income Country) จะเป็นกลุ่มประเทศที่มีระดับการเติบโตด้านความเป็นเมืองที่สูงที่สุด ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันจากร้อยละ 30 และร้อยละ 39 เป็นร้อยละ 48 และ ร้อยละ 57 ตามลำดับ และในช่วงระหว่าง ปี 2014 จนถึงปี 2050 ประชากรในเขตชนบทจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นใน 1 ใน 3 ของประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่มีแนวโน้มประชากรในชนบทเพิ่มสูงสุด คือ ประเทศไนจีเรีย (50 ล้านคน) และกว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั่วโลกจำนวนประชากรในเขตชนบทมีแนวโน้มลดลง โดยจีนจะเป็นประเทศที่จำนวนประชากรในชนบทลดลงสูงสุด (300 ล้านคน) และ อินเดีย (52 ล้านคน) ตามลำดับ

หากพิจารณาประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการคาดประมาณจำนวนประชากรภายในประเทศ พบว่า ในปี พ.ศ. 2556 มีประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองร้อยละ 45.90 ซึ่งแตกต่างจาก ประชากรเขตเมืองปี พ.ศ. 2554 ที่มีอัตราส่วนเพียงร้อยละ 36.12 ของประชากรทั้งประเทศ

และในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับบน (Upper- Middle Income Country) ที่มีแนวโน้มพัฒนาสู่ความเป็นเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาเพื่อเข้าสู่สังคมเมืองที่มากยิ่งขึ้นส่งผลด้านดี เช่น การทำธุรกิจค้าขายเป็นไปสะดวกสบายมากขึ้น จากการที่คนอยู่กันอย่างหนาแน่น การขนส่งสินค้ามีต้นทุนต่ำ นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนาความเป็นเมืองมากขึ้นอาจทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานของประชากรอันส่งผลทำให้ปัญหาต่างๆ ในสังคมเมืองทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วย เช่น ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัย ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและรายได้ ปัญหาการบริการจากภาครัฐที่ไม่ทั่วถึง หรืออาจจะเป็นปัญหาจากการอพยพเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าว เป็นต้น


จากผลกระทบทางด้านบวกและด้านลบดังกล่าว ประเทศควรมีการเตรียมพร้อม มีการกำหนดนโยบายในการใช้ประโยชน์จากความเป็นเมืองที่มากขึ้น และนโยบายในการรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความเป็นเมืองที่เพิ่มสูงขึ้นภายใน ต้องมีการคำนึงว่าจะจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างไร เพื่อให้ประชาชนสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ มีความเหลื่อมล้ำในระดับที่ต่ำ มีระบบการศึกษา มีระบบคมนาคมขนส่งที่มีคุณภาพ มีระบบสาธารณสุขที่เพียงพอต่อความต้องการของคนในเมือง   


                 
              เมื่อดูจากการคาดการณ์จำนวนประชากรโลกปี 2050 พบว่า จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้น 38% จาก 6.9 พันล้านคน เป็น 9.6 พันล้านคน โดยประชากรจะมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้นอย่างน้อย 9 ปี ประชากรอายุ 15-64 ปีจะเพิ่มขึ้น 33% ในขณะที่ประชากรอายุมากกว่า 65 ปีคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 181% ดังนั้น หากพิจารณาแนวโน้มดังกล่าวประกอบกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากหลากหลายปัจจัย จะเห็นได้ว่าการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันได้แก่ อาหาร น้ำ และพลังงาน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรมนุษย์วัยแรงงาน จึงเป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญ




                                                                      1. อาหาร

              จากการคาดการณ์ปริมาณการผลิตพืชหลัก อาทิ ข้าวโพด ข้าว ข้าวสาลี และถั่วเหลือง ซึ่งมีแนวโน้มจะขยายตัวเพียง 38-67% เท่านั้นในปี 2050 เป็นสัญญาณเตือนภัยที่สำคัญสำหรับโลกในการรับมือกับสภาวะการขาดแคลนอาหารที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเมื่อดูจากการคาดการณ์ความต้องการด้านอาหารในปี 2050 ที่กำลังจะมาถึง พบว่า ผลผลิตทางการเกษตรจำเป็นต้องขยายตัวสูงถึง 60-110% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราการขยายตัวของปริมาณผลผลิตที่โลกสามารถผลิตได้
         ทั้งนี้สำหรับทวีปที่คาดว่าจะต้องการอาหารมากที่สุดคือทวีปแอฟริกา ทวีปที่ประชากรมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 814 ล้านคน และมีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นถึง 300% ดังนั้น เป็นที่ทราบดีว่า หากประชากรโลกมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ และการขยายตัวด้านอาหารไม่สามารถขยายตัวเพิ่มมากขึ้นได้ ความไม่มั่นคงทางอาหาร (food insecurity) จะเกิดขึ้นอย่างมากมายและรุนแรงมากกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีฐานะยากจนในแถบทวีปแอฟริกา เป็นต้น



                                                                                2.น้ำ
               จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้น 400% ในภาคการผลิต 140% สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าและพลังงานความร้อน และ 130% สำหรับการใช้ตามครัวเรือน ทำให้อุปสงค์น้ำทั้งโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นกว่า 55% ของอุปสงค์น้ำ ณ ปัจจุบัน ทั้งนี้จากสภาวะขาดแคลนทรัพยากรน้ำส่งผลให้ประชากรกว่า 1.4 พันล้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคแอฟริกาใต้ซาฮาร่า (Sub-Sahara Africa) จะยังคงไม่สามารถได้รับสุขอนามัยขั้นพื้นฐานที่ดี อันเนื่องมาจากปัจจัยเรื่องทรัพยากรน้ำ

3. พลังงาน
                  ผลจากการเพิ่มจำนวนประชากร และการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้ความต้องการพลังงานในปี 2050 มีแนวโน้มขยายตัวตามไปด้วย ทั้งนี้เมื่อดูจากการประมาณของ International Energy Agency พบว่า ความต้องการพลังงานของโลกจะเพิ่มขึ้นกว่า 50% จากปี 2010 การใช้พลังงานประเภทฟอสซิลจะลดลง และสามารถตอบสนองความต้องการเบื้องต้นได้เพียง 80% ของความต้องการพลังงานทั้งหมด


4. ทรัพยากรมนุษย์
               การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรมีผลต่อมิติแรงงาน ทั้งนี้กำลังแรงงานในหลายประเทศซึ่งหดตัวลง อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมัน มีสาเหตุหลักมาจากประชากรกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีอัตราการเกิดและอัตราการตายที่ลดลง แตกต่างจากบางประเทศ อาทิ อินเดีย และประเทศในทวีปแอฟริกา ที่มีแนวโน้มการขยายตัวของแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรโลกดังกล่าวส่งผลทำให้การแข่งขันเพื่อดึงดูดบุคลากรเข้ามาทำงานในประเทศของตนเป็นไปอย่างดุเดือดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะแรงงานคุณภาพและทรัพยากรวัยแรงงานจะมีจำนวนจำกัดมากขึ้น ดังนั้นเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน บริษัทต่างๆจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวและวางนโยบายให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว


ที่มา : http://www.kriengsak.com/global-trends-2050
               ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
           นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด



วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

Keyword



                                                                 settlement 


(จากภาพการตั้งถิ่นฐานในกรุงโรม ยุคก่อนประวัติศาสตร์)
                                                                 

                     
จากภาพ คำว่า settlement นั้นจะหมายถึง การบุกเบิกครอบครองพื้นที่ ส่วนใดส่วนนึงบนโลกที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยมาก่อน รูปแบบเเละขนาดของถิ่นฐานมีความซับซ้อนสัมพันธ์เเละเเตกต่างกันออกไป


การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ความหมายเเละขอบเขต

-มนุษย์มีฐานะเป็นบุคคล
-สังคมคือระบบปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์
-โครงสร้างคือสิ่งก่อสร้างทุกรูปแบบ เเละ โครงข่ายคือระบบหนทางเเละการคมนาคมติดต่อ
-ในขอบเขตที่เเคบลงมา เเหล่งการตั้งถิ่นฐานเป็นเเหล่งที่ประชากรอาศัยอยู่รวมกันในการดำเนินชีวิต
-เมืองขนาดใหญ่ขึ้น จะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
-เเหล่งตั้งถิ่นฐานเเต่ละเเหล่งเสมือนระบบหนึ่งๆ จะค่อยๆใหญ่โต เเละจะซับซ้อนยิ่งขึ้นตามกาลเวลา

จะดำรงอยู่ได้เมื่อ
1.ตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2.รักษาสมดุลกับสิ่งเเวดล้อมเเละทรัพยากร
3.มีความเสมอภาคทางสังคม
4.มนุษย์สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีเเห่งการเป็นมนุษย์ 


ตัวอย่าง ภาพการตั้งถิ่นฐาน

ตัวอย่าง ภาพการตั้งถิ่นฐาน



                                      Settlement hierarchy


Settlement hierarchy คือ ลำดับชั้นของการตั้งถิ่นฐาน เป็นวิธีการจัดลำดับชั้นของการตั้งถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในพื้นที่บนพื้นฐานของประชากรหรือเงื่อนไขหรือกฏเกณฑ์ต่างๆ 


Urbanization 

ภาพจาก http://www.gmlive.com/

Urbanization การกลายเป็นเมือง คือ การเปลี่ยนแปลงของประชากรจากเขตชนบทสู่เขตเมือง


จากภาพ : เเผนที่เเสดงการกลายเป็นเมืองของทั่วโลก คิดเป็นร้อยละของการกลายเป็นเมืองในแต่ละประเทศ ในปี 2012    (จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Urbanization
)
               

           จากปรากฎการทางสังคมในปัจจุบันจะพบว่า ความเจริญก้าวหน้าของชุมชนเมืองทำให้เกิดการอพยพของประชากรในเขตชนบทเข้ามาในเขตเมืองมากขึ้น เมื่อในเขตเมืองมีความหนาแน่นมากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ความเสื่อมโทรมในตัวเมืองมีมากขึ้น การขยายตัวของเมืองก็จะเกิดขึ้นตามมา ทำให้มีการกระจายตัวของประชากรเมือง (Decentralization) เข้าครอบครอง (Dominate) พื้นที่ใหม่ที่อยู่บริเวณรอบ ๆ เมือง พื้นที่ที่รองรับการขยายตัวของเมืองก็คือ ชานเมือง (Suburb)
               ก่อนที่ชานเมืองจะกลายมาเป็นเมือง (Urbanization) พื้นที่ของชานเมืองจะมีลักษณะเป็นที่โล่งว่างและมีประชากรอาศัยอยู่อย่างเบาบาง การที่ชานเมืองเป็นบริเวณมีสามารถรองรับการกระจายตัวของเมืองได้เป็นอย่างดีนั้น มีปัจจัยสนับสนุนดังนี้ (ไพบูลย์ ช่างเรียน 2516 : 250-251)
     1.ปัจจัยด้านการคมนาคม (Mass communication) การสร้างเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างชานเมืองกับตัวเมือง ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการเคลื่อนไหว เมื่อมีการเคลื่อนไหวได้รวดเร็วและได้มากณ ที่นั้นก็จะมีความเจริญเกิดขึ้น ผู้คนอพยพไปอยู่มากขึ้น
    2.ปัจจัยด้านที่อยู่อาศัย การออกไปจัดทำที่ดินหรือที่อยู่อาศัยบริเวณชานเมืองนั้น ทำให้สามารถมีบริเวณบ้านกว้างขวาง ราคาพอสมควรพอที่จะทำให้ผู้มีรายได้ปานกลางหาซื้อได้
    3.ปัจจัยด้านที่ตั้ง (Location) การสร้างสถานที่ราชการของรัฐบาล มีส่วนช่วยให้เกิดชุมชนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะประชาชนเห็นว่าเมือมีสถานที่ราชการของรัฐบาลเกิดขึ้นแล้ว การบริการสาธารณต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ถนนหนทางและความปลอดภัยก็จะติดตามมาด้วยรวมทั้งสืบเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้มีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นในเขตชานเมือง เมื่อเกิดย่านอุตสาหกรรมขึ้นแล้ว ก็จำเป็นจะต้องมีคนงาน จึงทำให้เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยบริเวณเขตอุตสาหกรรมเพื่อความสะดวกในการทำงาน
    4.ปัจจัยด้านการลงทุนของนักจัดสรรที่ดิน เมื่อบริเวณรอบ ๆ เมืองมีระบบคมนาคมที่สะดวกรวดเร็วในการเคลื่อนไหว ทำให้มีนักเก็งกำไรในการจัดสรรที่ดินเกิดขึ้น โดยทำการจัดสรรที่ดินและจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา ถนน เพื่อเป็นการจูงใจความต้องการของประชาชนที่อยู่อาศัย
    5.ปัจจัยด้านบทบาทของการเดินทางไปกลับ (Commuter) โดยอาศัยผลจากความสะดวกรวดเร็วของการคมนาคมเข้ามาทำงานและอาศัยบริการต่าง ๆ ในตัวเมืองกลับออกไปในตอนเย็นซึ่งก่อให้เกิดการอพยพของประชากรที่อยู่อาศัยในเมืองออกไปอยู่ในเขตชานเมืองมากขึ้น
                                                                                                                                                                   (http://www.dpt.go.th/ITCitdb/txt/pop/urban3.htm)